ต้น ลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย
ใบ ลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย
ดอก ลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย
ลักษณะโดยรวม ใบเตยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วย พยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม บริเวณกลางใบเป็นร่อง ขอบใบเรียบตรง ผิวใบเป็นมัน ด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือใบ มีกลิ่นหอม
ข้อมูลทั่วไป ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกันมาก เนื่องจากหาได้ง่ายในประเทศไทย ราคาถูก เป็นพืชที่ให้สีและกลิ่น ไม่เป็นพิษภัยในการนำมาประกอบอาหารและทำขนม ใบเตยมีสารต่างๆ อยู่หลายชนิดและมีสารหอมที่ให้กลิ่นด้วย จึงมีผู้สนใจที่จะนำใบเตยมาใช้ประโยชน์กันมาก โดยทั่วไปจะนิยมเรียกว่า เตย แต่ในบางท้องถิ่นเรียกว่า หวานข้าวใหม่ (ภาคกลาง) ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
การปลูกเลี้ยง ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะดินจะชื้นดี ทำให้ต้นเตยติด และตั้งตัวได้ง่าย หลังจากปลูกเตยเสร็จ ควรให้น้ำทันที แต่หากดินชื้นมากก็ไม่จำเป็นต้องให้ และให้น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน
การขยายพันธุ์ เตยสารมารถขยายพันธุ์ได้เองโดยการแตกหน่อ แต่ในปัจจุบันก็สามารถปลูกด้วยการแยกเหง้าหรือย้ายหน่อปลูกได้
การใช้ประโยชน์ ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้ ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่นหรือใช้ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม นำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม น้ำมันหอมระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาปรับอากาศ ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว แชมพู สบู่ หรือ ครีมนวด เป็นต้น